การ ผ่าตัดไทรอยด์ คือ การรักษาโรคไทรอยด์ผิดปกติให้หายขาด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาผ่าตัดรักษาให้ในกรณีที่ฮอร์โมนไทรอยด์เป็นพิษ และไม่สามารถลดยาได้หรือ มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ที่มีอาการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง หรือมีความเสี่ยงที่ก้อนจะเป็นมะเร็งได้ ทั้งนี้ การ ผ่าตัดไทรอยด์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 3 วิธี ดังต่อไปนี้
1.การผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด
ถือเป็นวิธีการผ่าตัดรักษาโรคไทรอยด์แบบดั้งเดิมที่มีมาเป็นร้อยปีแล้ว ซึ่งการผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิดนี้จะทำให้มีแผลเป็นบริเวณกลางลำคอ ทำให้เวลาคุยกับใคร อีกฝ่ายจะสังเกตเห็นแผลเป็นเราได้อย่างชัดเจน ซึ่งในคนไทยและชาวเอเชีย ลักษณะผิวหนังของเราจะมีความเสี่ยงเกิดภาวะแผลเป็นนูนหรือ “คีรอยด์” ได้ง่าย จึงยิ่งทำให้แผลผ่าตัดไทรอยด์เห็นได้ชัดเจนกว่าคนชาติอื่น ๆ
การผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด นอกจากจะทิ้งรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ไว้ให้กับคนไข้แล้ว ยังถือเป็นการผ่าตัดที่ใช้เวลานาน ฟื้นตัวช้า คนไข้มีอาการเจ็บปวดได้มากกว่าการผ่าตัดในแบบอื่น ๆ และอาจจะส่งผลต่อภาระการงานสำหรับผู้ป่วยที่ทำงานโดยอาศัยความน่าเชื่อถือ หรือภาพลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็น นักธุรกิจ นักแสดง youtuber ฯลฯ
2.การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องบริเวณรักแร้
การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องบริเวณรักแร้ ถือเป็นการผ่าตัดที่เริ่มได้รับความนิยมในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เพราะแผลเล็ก เจ็บน้อย และฟื้นตัวได้ไวมากกว่าการผ่าตัดแบบเปิด แต่อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องมีแผลเป็นอยู่บริเวณรักแร้อยู่ดี อีกทั้งยังเป็นวิธีการผ่าตัดที่ยากและซับซ้อน เนื่องจากจะต้องผ่าตัดจากบริเวณรักแร้ ไล่มาจนถึงบริเวณด้านหน้าของหน้าอกแล้วขึ้นมาผ่าตัดบริเวณคอที่เป็นตำแหน่งของต่อมไทรอยด์
นอกจากนั้นยังมีข้อจำกัดในการผ่าตัดก้อนขนาดใหญ่ และการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทั้ง 2 ข้าง ที่จำเป็นจะต้องมีแผลเป็นที่บริเวณรักแร้ทั้ง 2 ข้าง และถึงอย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ผ่าตัดไปก็จะยังมีแผลเป็นบริเวณรักแร้ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อคนไข้ผู้หญิงที่ต้องการใส่เสื้อแขนกุด เนื่องจากจะทำให้เห็นรอยแผลเป็นอย่างชัดเจน
3.การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก
ถือเป็นการผ่าตัดรักษาโรคไทรอยด์ที่พัฒนามาจากการผ่าตัดแบบเปิดและผ่าตัดแบบส่องกล้องบริเวณรักแร้ ซึ่งวิธีนี้ได้รับการยืนยันแล้วว่ามีภาวะแทรซ้อนต่ำ เช่นเดียวกับการผ่าตัดด้วยวิธีอื่น โดยการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก เรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่าเป็นการผ่าตัดไทรอยด์ไร้แผล ซึ่งจะทำโดยผ่าตัดผ่านแผลบริเวณริมฝีปากล่าง โดยที่ไม่มีแผลเป็นภายนอกหลงเหลือไว้ ไม่ต้องทำแผล ไม่ต้องกังวลเรื่องของแผลเป็นนูนหรือ “คีรอยด์”
สรุป
การผ่าตัดไทรอยด์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีแนวทางในการผ่าตัดรักษาอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 3 วิธีด้วยกัน คือ ผ่าตัดแบบเปิด ผ่าตัดส่องกล้องไทรอยด์ผ่านทางบริเวณรักแร้ และ ผ่าตัดส่องกล้องไทรอยด์ทางช่องปาก หรือ ผ่าตัดไทรอยด์ไร้แผล ซึ่งแน่นอนว่าในทุกวันนี้ การผ่าตัดไทรอยด์ไร้แผลถือเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากวิธีหนึ่ง เนื่องจากไม่ทำให้คนไข้กังวงเรื่องรอยแผลเป็น อีกทั้งยัง เจ็บน้อย ผลข้างเคียงน้อย ฟื้นตัวไว หายดีกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ในเร็ววัน